วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

CHAPTER 7 : Electronic Supply Chain Management

       นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ การด าเนินธุรกิจต่างๆ เกือบทุกสาขาได้หยุดชะงัก
หรือชะลอตัวลงหรือแม้กระทั่งปิดกิจการไป เนื่องจากกิจการส่วนใหญ่ประสบ
ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ยอดขายลดลง ท าให้มีสินค้าคงเหลืออยู่
เป็นจ านวนมาก ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่
เปลี่ยนแปลงไปท าให้ผู้ผลิตจ าเป็นต้องหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และก าหนดกลยุทธ์
ต่างๆ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าและการแข่งขัน


การใช้กลยุทธ์เดิมๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดด
เด่นและใช้กลยุทธ์ด้านราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่องค์กรทุกอง
กรค์ต่างใช้กลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างกันจนกระทั่งไม่ได้เกิดความได้เปรียบหรือ
เสียเปรียบกันมากนัก แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่ก าลังได้รับความสนใจและให้
ความส าคัญกันมากคือ การบริหารซัพพลายเชน
(Supply Chain Management : SCM)


ร ะบบที่ จั ด ก า ร ก า รบ ริห า ร แ ล ะเ ชื่ อ มโ ย ง เ ค รื อ ข่ า ย ตั้ ง แ ต่ suppliers,
manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการ
เชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้า
ด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรง
ตามเวลาและความต้องการ


The Benefits of supply chain management

Supply Chain Management

Supply Chain Management


Supply Chain for Denim Jeans 


Supply Chain for Denim Jeans  (cont.)

ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
การก าเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชนกล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่ง
ล าเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งก าลังบ ารุงของทหาร 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหาร
จะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่ก าหนดอย่างถูกต้อง
ตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจ าเป็นต้องอาศัยการวางแผน
จัดล าดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยำ

ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน (ต่อ)
ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้น ามาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและ
อุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย 
Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่
กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน 
(The Baseline Organization)
เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลก าไรสูงสุดขององค์กร 
โดยเน้นความช านาญในการท างานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้
อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างท างานเป็นอิสระต่อกันไม่
เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน 
(The Functionally Integrated Company)
ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/
ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน 
ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก 
เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัย
การผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต 
และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการด าเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน 
(The Internally Integrated Company)
ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
จากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันท าให้มีการติดต่อ
ประสานงานเชื่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การท างานจึงมีความต่อเนื่องกัน
เหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั้นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากร
ร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง 
เช่น ฝ่ายผลิตกับฝ่ายขายอาจต้องมีการออกส ารวจความต้องการของผู้บริโภคไป
พร้อมๆ กัน เพื่อให้ได้รับรู้ถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคว่าขณะนี้มี
ความต้องการสินค้าประเภทใด ลักษณะใด เพื่อที่จะได้มีการวางแผนการผลิต
เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการด าเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน 
(The Externally Integrated Company)
ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็ม
ตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของ
ตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความส าคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่
อุปทานภายนอก โดยเข้าไปท างานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็น
เครือข่ายการท างานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะ
ของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์ และ ในบางกรณี
บริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อ
น าส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน

การบริหารจัดการซัพพลายเชน

เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลาย
เชนเราเป็นส าคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอด
แนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่
องค์กรอื่นๆ ในซัพพลายเชน การพัฒนาศักยภาพของซัพพลายเชนนั้น นอกจาก
ระบบการประสานงานที่ดีภายในองค์กรแต่ละองค์กรแล้ว จะต้องพิจารณา
ความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่


1.เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ าที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการ
ส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้
ประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่ง
มอบสินค้าที่รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
(Demand-management interface capabilities)
เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึง พอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้น
ในเชิงการแข่งขัน คุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการคือ ความรวดเร็ว การมีสินค้าพร้อม
จำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการ การส่งมอบสินค้าที่สมบูรณ์สอดคล้องตามความต้องการของ
ลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามและ
ร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวก ศักยภาพในการบริการยังหมายถึง ความสามารถในการ ให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงค าสั่งซื้อในเรื่องของปริมาร สถานที่ ชนิด ได้ในระยะเวลากระชั้นมากขึ้น ตลอดจนความสามารถในการผลิตและส่งมอบสินค้า ในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้าแบบไม่คาดหมายขึ้น

3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ(Information management capabilities)
ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความส าคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้าม ชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระบบองค์กรและระหว่าง
องค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางกลยุทธ์ ระบบสื่อสารที่ดีท าให้เกิดความ
รวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการด าเนินงานได้มาก เมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมัก
ได้เปรียบคู่แข่งในท้องถิ่นเสมอ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาระบบการสื่อสารได้แก่ 
ระดับเทคโนโลยี เช่น hardware, software การออกแบบและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
ระดับการใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกัน ข้อมูลในระดับปฏิบัติการ ข้อมูลด้านยุทธ์ศาสตร์ 
ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลในระดับเทคนิค และความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบ 
เช่น ความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ความรวดเร็วในการด าเนินการเมื่อได้รับข้อมูล และ
การจัดวางรูปแบบข้อมูลที่สามารถน าไปใช้งานต่อเนื่องได้ทันที


ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
การจัดการซัพพลายเชนให้ประสบความส าเร็จเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ อย่างไรก็ตาม
ในบางครั้งการจัดการซัพพลายเชนอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจ าแนกได้ดังนี้
1. ปัญหาจากการพยากรณ์ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็นสิ่งที่ส าคัญมากในการจัดการซัพ
พลายเชน ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนส าคัญที่ท าให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด และ
อาจจะท าให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะท าให้ไม่สามารถผลิตสินค้า
ได้ตามเวลาที่ก าหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียท าให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้ง
เครื่องจักร
3. ปัญหาด้านคุณภาพ ปัญหาด้านคุณภาพอาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และท า
ให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่ก าหนดไว้ นอกจากนั้นระบบการขนส่งที่ไม่มี
คุณภาพสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้เช่นกัน
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า การส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างท า 
และสินค้าส าเร็จรูป เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบล่าช้า ท าให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้
ตามตารางการผลิตที่ก าหนดไว้ นอกจากนั้น ในระหว่างกระบวนการผลิต การส่งต่องานระหว่างท า
ที่ล่าช้าตามไปด้วยในกรณีที่ไม่สามารถปรับตารางการผลิตได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น การส่งมอบสินค้า
ส าเร็จรูปให้ลูกค้าล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการลูกค้าและความสามารถในการ
แข่งขันของกิจการ 
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งท าให้การ
ผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่ก าหนดไว้ ความผิดพลาดในสารสนเทศที่เกิดขึ้นมีหลาย
ประการ เช่น ความผิดพลาดในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การก าหนดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคง
คลัง การขนส่ง ฯลฯ
6. ปัญหาจากลูกค้า ปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน เช่น 
ลูกค้ายกเลิกค าสั่ง ในบางครั้งผู้ผลิตได้ท าการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกค า
สั่งซื้อจากลูกค้าในเวลาต่อมา จึงท าให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว


ตัวอย่างปัญหาของการจัดการโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน Bullwhip Effectคือปัญหาที่เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกน ามาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง

เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
เทคโนโลยีช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชนให้มี ประสิทธิภาพนั้น กล่าวกันว่ามีองค์ประกอบที่ส าคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความ
ต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Demand management) ให้ ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยด าเนินการต่อเนื่องตั้งแต่หน่วยที่เป็นต้นทางวัตถุดิบถึงขั้น
สุดท้ายของกระบวนการจัดการระบบซัพพลายเชน การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อ
ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ และความสามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตลาดและที่ส าคัญไปกว่านั้น 
คือการน าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology) โดยเฉพาะทางด้านไอที ฮาร์แวร์ 
และซอฟแวร์ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบซัพพลายเชนมีความต่อเนื่องไม่
ติดขัด ด้วยการน าระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว
และถูกต้องในการจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดย
ปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชนได้แก่

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ใน
กระบวนการทางธุรกิจและการด าเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่าง
บุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการท าธุรกรรมผ่านสื่อ
ต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานส่วนใหญ่จะมีการด าเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับซัพพลายเออร์และ
ลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการท าธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น 
เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี แทนแรงงานคน ซึ่ง
ท าให้ราคาของสินค้าลดลง
ลดการใช้คนกลางในการด าเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ 
ฯลฯ
ลดกิจกรรมที่ไม่จ าเป็นระหว่างโซ่อุปทานท าให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จาก
สารสนเทศมากขึ้น

การใช้บาร์โค้ด (Barcode)
บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไป ด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร 
สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงท าหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของ สินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ท าการผลิต เลขหมายเรียงล าดับกล่องเพื่อการ
ขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงต าแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุม การหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้า
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่ส าคัญการติดบาร์โค้ด
ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความ ซ้ าซ้อนในการท างาน
ปัจจุบันรหัสสากร (EAN Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็น
สถาบันที่ควบคุม ดูแลและส่งเสริมการใช้ระบบมาตรฐาน ECC : UCC (ย่อมาจาก 
European Article Number : Uniform Code Council) การใช้บาร์โค้ด (Barcode)
ในประเทศไทย ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานสากลที่ทุก
อุตสาหกรรมของนานาประเทศนิยมใช้กัน โดยหมายเลขบาร์โค้ดจะไม่ซ้ าซ้อนกัน 
เพื่อให้สามารถอ้างอิงกลับมายังสินค้าหรือบริการนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 
(EDI : Electronic Data Interchange)
เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพ
พลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีก
เครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการ
จัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI 
Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (Telecommunication Network) ท าให้
เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการท างาน ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลต่างก็สามารถ
เข้าถึง EDI message ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่อง
คอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ข้อมูลการสั่งซื้อออกมาเป็นเอกสาร ท าให้ประหยัดเวลาและ
ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ลดปัญหาการสูญหายและความผิดพลาด
เนื่องจากมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

การใช้ซอฟแวร์ Application SCM
การน าซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น Enterprise 
Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ท า
หน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า 
Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลา
โรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจ ากัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด 
Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จ าเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้
ตรงตามความต้องการของตลาด
Customer Asset Management ใช้ส าหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้า รวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น
ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP,ORACLE, 
Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan

อย่างไรก็ตามความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชนคงต้องมีกลไกให้มีการร่วม
คิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของผู้บริหาร
ระดับสูงของทุกองค์กรมีความส าคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม (cross-functional 
team) ที่จะประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมา
ร่วมกันวางแผนหาจุดอ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม จะช่วยสร้างความ
ร่วมมือระหว่างกันได้รวดเร็วและเป็นรูปธรรม ความแตกต่างกันระหว่างองค์กรทั้งในเรื่อง
วัฒนธรรม แนวความคิด ขนาดองค์กร แนวทางการปฏิบัติงาน และเทคโนโลยี จะได้มี
การปรับให้สอดคล้องกันมากขึ้นตามล าดับ เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกันคือความสามารถ
ในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้าเรานั่นเอง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น